ประวัติความเป็นมาของเครื่องดื่มชา
ชาเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีผู้นิยมมากอันดับ 2 รองจากน้ำดื่ม เพราะเป็นผลผลิตจากธรรมชาติจากใบชา ตูมชา ยอดอ่อน และก้านของต้นชา โดยผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย จนกลายเป็นชาต่างๆ แล้วนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ด้วยกลิ่นหอมกรุ่น รสชาติชื่นใจ จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้คนมากมาย
“ชา” เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการเล่าขานมายาวนาน ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช วันหนึ่งในขณะที่ฮ่องเต้เสินหนงกำลังเสวยน้ำร้อนในถ้วยหนึ่งอยู่นั้น ก็ได้มีใบไม้จากต้นไม้แถวนั้น บังเอิญร่วงลงในถ้วยน้ำร้อนของฮ่องเต้ ทำให้สีของน้ำร้อนในถ้วยเปลี่ยนไป แต่ฮ่องเต้ก็ยังคงเสวยน้ำในถ้วยแก้วนั้นต่อไป โดยไม่ทันได้สังเกตว่ามีใบไม้ร่วงลงไป ด้วยรสชาติที่หอมอ่อนๆ ดื่มแล้วสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฮ่องเต้ประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง
ในบทประพันธ์เรื่อง “ฉางจิน” ประพันธ์โดย “ลูอวี่” ได้มีการกล่าวถึงตำนานใบชาไว้ว่า “ฮ่องเต้เสิ่นหนงได้เคี้ยวพืชต่างๆ เพื่อทดสอบหาสรรพคุณของสมุนไพร ต่อมาฮ่องเต้เสิ่นหนงก็ได้ใช้ใบชาเป็นเครื่องดื่มช่วยในการถอนพิษด้วยเช่นกัน
ประวัติความเป็นมาของชา ทำให้ได้ทราบว่าชาวจีนรู้จักการบริโภคชามาแล้วกว่าพันปี ชาวบ้านในสมัยราชวงค์ฮั่นใช้ชาเป็นยารักษาโรคต่างๆ อีกด้วย ชาวจีนจึงนับว่าเป็นประเทศแรกที่รู้จักการดื่มชาร้อนๆ เพื่อสุขภาพมาอย่างยาวนาน
ในอดีตชาวจีนได้เก็บเอาใบชาป่า มาตากแห้งเพื่อเก็บให้ไว้ได้นานโดยใช้ในการทำยารักษาโรค ต่อมาในภายหลังจึงได้นำมาอบแห้ง แล้วนำมาชงเป็นเครื่องดื่ม และพัฒนามาเป็นน้ำชาประเภทต่างๆ โดยชาวจีนได้ทำการปลูกต้นชามาตั้งแต่ในสมัยราชวงค์ฉินถึงราชวงค์ฮั่น การปลูกต้นชาเริ่มมีตามแนวมณฑลเสฉวน ลงมาถึงมณฑลยูนหนาน มาถึงสมัยราชวงค์ถัง การปลูกชาได้กระจายไปในแต่ละมณฑลตามแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
สำหรับประวัติความเป็นมาของชาในประเทศไทย พบว่าในยุคสมัยสุโขทัย เป็นช่วงแรกที่ได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวจีน พบว่าได้มีดื่มชากันระหว่างชาวจีนและชาวไทย แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำชาเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด
ในอดีตชากับชาวจีน กลายเป็นวัฒนธรรมและประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวจีนมานานจนแยกจากกันไม่ออก ชาวจีนจึงได้ดื่มน้ำชาเป็นกิจวัตรประจำวัน และใช้ชาต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมายาวนาน อีกทั้งยังกลายเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่ผู้คนมากมายในโลกหันมาดื่มอย่างจริงจังในปัจจุบัน
ชาเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีผู้นิยมมากอันดับ 2 รองจากน้ำดื่ม เพราะเป็นผลผลิตจากธรรมชาติจากใบชา ตูมชา ยอดอ่อน และก้านของต้นชา โดยผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย จนกลายเป็นชาต่างๆ แล้วนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ด้วยกลิ่นหอมกรุ่น รสชาติชื่นใจ จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้คนมากมาย
“ชา” เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการเล่าขานมายาวนาน ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช วันหนึ่งในขณะที่ฮ่องเต้เสินหนงกำลังเสวยน้ำร้อนในถ้วยหนึ่งอยู่นั้น ก็ได้มีใบไม้จากต้นไม้แถวนั้น บังเอิญร่วงลงในถ้วยน้ำร้อนของฮ่องเต้ ทำให้สีของน้ำร้อนในถ้วยเปลี่ยนไป แต่ฮ่องเต้ก็ยังคงเสวยน้ำในถ้วยแก้วนั้นต่อไป โดยไม่ทันได้สังเกตว่ามีใบไม้ร่วงลงไป ด้วยรสชาติที่หอมอ่อนๆ ดื่มแล้วสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฮ่องเต้ประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง
ในบทประพันธ์เรื่อง “ฉางจิน” ประพันธ์โดย “ลูอวี่” ได้มีการกล่าวถึงตำนานใบชาไว้ว่า “ฮ่องเต้เสิ่นหนงได้เคี้ยวพืชต่างๆ เพื่อทดสอบหาสรรพคุณของสมุนไพร ต่อมาฮ่องเต้เสิ่นหนงก็ได้ใช้ใบชาเป็นเครื่องดื่มช่วยในการถอนพิษด้วยเช่นกัน
ประวัติความเป็นมาของชา ทำให้ได้ทราบว่าชาวจีนรู้จักการบริโภคชามาแล้วกว่าพันปี ชาวบ้านในสมัยราชวงค์ฮั่นใช้ชาเป็นยารักษาโรคต่างๆ อีกด้วย ชาวจีนจึงนับว่าเป็นประเทศแรกที่รู้จักการดื่มชาร้อนๆ เพื่อสุขภาพมาอย่างยาวนาน
ในอดีตชาวจีนได้เก็บเอาใบชาป่า มาตากแห้งเพื่อเก็บให้ไว้ได้นานโดยใช้ในการทำยารักษาโรค ต่อมาในภายหลังจึงได้นำมาอบแห้ง แล้วนำมาชงเป็นเครื่องดื่ม และพัฒนามาเป็นน้ำชาประเภทต่างๆ โดยชาวจีนได้ทำการปลูกต้นชามาตั้งแต่ในสมัยราชวงค์ฉินถึงราชวงค์ฮั่น การปลูกต้นชาเริ่มมีตามแนวมณฑลเสฉวน ลงมาถึงมณฑลยูนหนาน มาถึงสมัยราชวงค์ถัง การปลูกชาได้กระจายไปในแต่ละมณฑลตามแถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
สำหรับประวัติความเป็นมาของชาในประเทศไทย พบว่าในยุคสมัยสุโขทัย เป็นช่วงแรกที่ได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวจีน พบว่าได้มีดื่มชากันระหว่างชาวจีนและชาวไทย แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำชาเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด
ในอดีตชากับชาวจีน กลายเป็นวัฒนธรรมและประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวจีนมานานจนแยกจากกันไม่ออก ชาวจีนจึงได้ดื่มน้ำชาเป็นกิจวัตรประจำวัน และใช้ชาต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมายาวนาน อีกทั้งยังกลายเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่ผู้คนมากมายในโลกหันมาดื่มอย่างจริงจังในปัจจุบัน